น้ำดื่ม RO

สาระน่ารู้ 

มหิดลฟันธงน้ำอาร์โอดื่มได้ไม่เกิดโรคร้ายดังนักเคมีอ้าง 

(จาก นสพ. บ้านเมือง ปีที่ 31 ฉบับที่ 14477 วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2545) 

 

นักวิชากรแห่งสถาบันวิจัยโภชนาการ สยบข่าวตู้น้ำดื่มยอดเหรียญอันตราย ยืนยันน้ำดื่มได้ที่กระบวนการผลิตด้วยระบบอาร์โอ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ไม่มีผลต่อการดูดดึงเกลือแร่ออกจากเซลล์ หรือทำให้เสียวฟัน รวมทั้งก่อโรคอื่นๆ มิหนำซ้ำน้ำอาร์โอยังเป็นกระบวนการกรองสิ่งต่าง ๆออกจากน้ำให้ได้มาตราฐานมากที่สุด และเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างแพง ย้ำน้ำเป็นตัวกลางที่นำสารอาหารสู่ระบบต่าง ๆอย่างสมดุล เผยตามหลักโภชนาการเกลือแร่ได้จากอาหารถ้ากินอาหารครบ 5 หมู่ น้ำอาร์โอไม่มีเกลือแร่ แต่เมื่อเข้าในร่างกาย พวกเกลือแร่ต่าง ๆ ในร่างกายมีอยู่แล้วทั้งในช่องปาก น้ำจะพาสารอาหารไปสู่ระบบร่างกาย

ในกรณีที่ รศ.ดร.พิชัย โตวิวิชญ์ กรรมการบริหารสมาคมเคมี อดีตหัวหน้าภาควิชาเคมี คณะ วิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาเปิดโปงถึงเทคโนโลยีการผลิตน้ำดื่มบริสุทธิ์เรียกว่า "รีเวอร์ส ออสโมซิส" (Reverse Osmosis) หรือระบบน้ำอาร์โอ ด้วยการประกาศเตือนไม่ควรใช้ดื่มเป็นประจำ เนื่องจากจะดึงแร่ธาตุที่จำเป็นออกจากเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย มิหนำซ้ำยังส่งผลทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายโรค เช่น โรคฟัน โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน ถ้าซื้อผลิตน้ำบริสุทธิ์อาร์โอนั้น

ความคืบหน้าในเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 45 รศ.ดร. วิสิฐ จะวะสิต รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโภชนาการมาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ว่า กระบวนการผลิตน้ำบริโภค ด้วยระบบ รีเวอร์ส ออสโมซิส เป็นการกรองน้ำให้มีความบริสุทธิ์เกือบ 100% ไม่มีประจุ เกลือแร่ตกค้าง ได้ น้ำค่อนข้างบริสุทธิ์ ไม่นำไฟฟ้า ถือเป็นเทคโนโลยีที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่รักความสะอาดให้การยอมรับมาก และเทคโนโลยีนี้เข้ามาในประเทศไทยนานแล้ว

ทั้งนี้ หากน้ำผ่านการกรองได้มาตราฐานตามข้อกำหนดของหระทรวงสาธารณสุข ซึ่งยึดหลัก เกณฑ์ตามองค์การอนามัยโลก น้ำนั้นจะไม่มีอันตราย เมื่อมีการพูดว่ากระบวนการผลิตน้ำอาร์โอ ก่อให้เกิดอันตราย ตนอยากให้มองว่า น้ำก็คือน้ำ การดื่มน่ำก็คือดื่มน้ำ ถ้าต้องการดื่มน้ำบริสุทธิ์ให้ดื่มน้ำอาร์โอ ถ้าชอบน้ำที่มีรสชาติของเกลือแร่ก็ดื่มน้ำที่ผ่านกระบวนการอื่น ๆ เช่นเครื่องกรองน้ำตามบ้านเรือนประชาชนที่ใช้กรองด้วยเรชิน ซึ่งน้ำที่ใช้ระบบกรองแบบนี้ต้องมั่นใจในความสะอาดของแหล่งน้ำดิบ

รศ.ดร.วิสิฐ กล่าวว่า หากมองในแง่โภชนาการ เกลือแร่ได้จากอาหาร ถ้ากินอาหาร 5 หมู่ น้ำอาร์โอไม่มีเกลือแร่ แต่เมื่อเข้าสู่ร่างกาย พวกเกลือแร่ต่าง ๆในร่างกายมีอยู่แล้วในช่องปาก น้ำจะพาสารอาหารไปสู่ระบบร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำอาร์โอ หรือน้ำกรองธรรมดาถ้าสะอาดก็ทำหน้าที่ได้เหมือนกัน อย่าไปคาดหวังว่า จะได้เกลือแร่จากน้ำคงจะยาก เพราะน้ำแต่ละแหล่งมีเกลือแร่แตกต่างกัน เกลือแร่ต้องมาจากอาหาร ผัก ผลไม้ นม ปลาเล็ก ปลาน้อย ตับ ได้เกลือแร่อยู่บ้าง น้ำบางแหล่งมีแคลเซี่ยมสูง เห็ลก เกลือแร่ในน้ำทำให้รสชาติอร่อยเท่านั้นเอง น้ำอาร์โอ รสชาติไม่อร่อยเมื่อเทียบกับน้ำที่มีเกลือแร่ปนอยู่บ้าง

ความจริงน้ำที่ผลิตผ่านการกรองธรรมดากับน้ำอาร์โอดีทั้งสองอย่าง ขึ้นกับสภาพน้ำดิบที่เรานำมาผลิต ถ้าเรากลัวว่า น้ำมียาฆ่าแมลง กลัวทุกอย่าง ไม่มั่นใจในความสะอาดของแหล่งน้ำก็ใช้กระบวนการอาร์โอ ซึ่งราคาแพงกว่าการกรองแบบเรซิน ถ้าเรามั่นใจในระบบน้ำดิบ เช่น น้ำประปามีการเติมคลอรีน ฆ่าเชื้อโรคอยู่แล้ว ก็ใช้การกรองธรรมดาตามพื้นบ้านก็ได้ แต่ต้องล้างเครื่องตามคู่มือแจ้งไว้ ถ้าไม่มีการล้างย้อนระบบ เชื้อจุลินทรีย์จะสะสมในเครื่องมากขึ้น ถ้าใช้บ่อย 2-3 วันควรล้าง หรือ 7 วันล้างก็ได้ พวกไส้กรองน้ำ ควรขัดล้างให้สะอาด ที่ดีที่สุดคือ น้ำฝนจากธรรมชาติ ถ้าอยู่ในแหล่งที่มีโรคงานอุตสาหกรรม รศ.ดร. วิศิฐ กล่าว

รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโภชนาการ กล่าวถึงกรณีที่นักเคมีเตือนว่า น้ำอาร์โอจะดึงเกลือแร่ออกจากเซลล์ร่างกายว่า เท่าที่ทราบ น้ำอาร์โอไม่น่ามีผล เพราะว่าน้ำที่บริสุทธิ์จะไม่มีประจุ ไม่มี เกลือแร่ น้ำอาร์โอไม่น่าดึงเกลือแร่ออกจากเซลล์ได้ เพราะในระบบย่อยของของร่างกายมีสารละลายอื่น ๆ ที่เข้มข้นอีกมาก ไม่อยากใหห้ตระนกกับเรื่องน้ำอาร์โอ น้ำอะไรก็ได้ขอให้มีความสะอาด กรองไดมาตราฐานไม่ต้องห่วงว่าน้ำอาร์โอมีผลทำให้เสียวฟัน ตนไม่เคยได้ยินจริง ๆ แล้วถ้ากินแคลเซี่ยมอย่างเพียงพอ ได้รับฟลูออไรด์พอสมควรฟันก็แข็งแรงอยู่แล้ว

ทางสถาบันได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการผลิตน้ำบริโภคพบว่า ข่าว ต่างๆ เกี่ยวกับน้ำดื่มมีออกมาตามกระแสการขายเครื่องกรองน้ำ ซึ่งแข่งขันกันรุนแรงมาก บางครั้งคนขายก็หลอกผู้บริโภค ช่วงที่เครื่องผลิตน้ำอาร์โอที่เข้าใหม่ๆ มีการนำโลหะไปจุ่มในน้ำแล้วมีตะกอนขึ้นก็บอกว่า น้ำดื่มบรรจุขวดที่ขายอยุ่ทั่วไปสกปรก แม้แต่น้ำบรรจุขวดยี้ห้อดัง ๆ ก็สกปรกด้วย สร้างความสับสนแก่ผู้บริโภค มีผู้ส่งเครื่องผลิตน้ำอาร์โอมาให้ทางสถาบันฯ ทดสอบเรานำน้ำกลั่นมาจุ่มโลหะ อันนั้นไม่เกิดตะกอนแต่พอเอาเกลือแกงธรรมดา เกล็ดเล็กนิดเดียวใส่ในน้ำ ตะกอนเขียวขึ้นมาหมด

ผลการทดสอบนี้บอกว่า ตะกอนไม่ใช่สิ่งแสดงว่าน้ำสกปรก แต่เป็นการแสดงว่า น้ำมีเกลือแร่ปนอยู่หรืเปล่าเท่านั้น เหล่านี้เป็นสิ่งที่กลุ่มขายเครื่องกรองน้ำน้ำอาร์โอทำ ส่วนเครื่องกรองน้ำแร่ เป็นการกรองกลิ่นโดยใช้คาร์บอนหรือถ่านกัมมันต์เป็นตัวกรองดูดพิษและกลิ่นบางยี้ห้อแพงเป็นหมื่นบาท ถ้ามีกำลังซื้อก็ซื้อก็ใช้ได้ อย่างไรก็ตาม น้ำประปาต้มใช้ดื่มได้อย่างปลอดภัย

ผมขอย้ำว่า น้ำอาร์โอ เป็นกระบวนการผลิตน้ำอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ต่างจากกระบวนการอื่นเป็นการกรองสิ่งต่างๆออกจากน้ำให้ได้มาตราฐานมากที่สุด เป็นกระบวนการที่ค่อนข้างแพง น้ำที่ออกมาค่อนข้างบริสุทธิ์ ไม่มีคุณสมบัติในการดึงเกลือแร่ต่างๆ ออกจากเซลล์ร่างกายน้ำก็คือน้ำเป็นตัวช่วยพาสารอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ข้อเสียของน้ำอาร์โอคือ ไม่อร่อย ถ้าเราลองดื่มแล้วไม่ชอบก็ไม่กินเห็นว่าราคาแพงก็ไม่กิน ถ้าชิมแล้วชอบรสชาติ พอหาซื้อ ได้ก็ใช้ไปแต่แหล่งน้ำบางแหหล่งไม่จำเป็นต้องผลิตด้วยกระบวนการอาร์โอ เครื่องกรองน้ำธรรมดาก็ใช้ได้แล้ว รศ.ดร.วิสิฐ กล่าว

น.พ. ชัยจิตวณิชกุล ประธานกรรมการศาสนาศิลปะวัฒนธรรม กล่าวว่าเทคโนโลยีผลิตน้ำอาร์โอ มีมานานแล้วเป็นวิธีการกรองน้ำให้บริสุทธิ์ โดยใช้แรงดันดูดน้ำผ่านแผ่นกรองหรือเยื่อบางๆ สารที่มีโมเลกุลใหญ่ก็จะถูกกรอง และหลงเหลืออยู่บนแผ่นกรอง เทคโนโลยีนิยมนำมาใช้ ทั้งการกำจัดน้ำเสีย อุตสาหกรรมอาหาร หรือการทำน้ำดื่มให้บริสุทธิ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตน้ำสำหรับใช้ในการฟอกเลือด ล้างไต ในโรงพยาบาล อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมผลิตยา โดยในอุตสาหกรรมที่ทำน้ำบริสุทธืมักมีการติดตั้งเครื่องจำกัดแร่ธาตุด้วย ทำให้น้ำที่ผ่านกระบวนการนี้มีแร่ธาตุต่ำ

ทำให้บางท่านตั้งข้อสังเกตจากทษฎีทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการออสโมซิสว่า การดื่มน้ำชนิดนี้เมื่อมีแร่ธาตุน้อย อาจไปดึงแร่ธาตุจากร่างกาย เมื่อร่างกายสูญเสียเกลือแร่ก็จะเป็นโรค แต่ในความเป็นจริงคนเราไม่ได้ดื่มน้ำอย่างเดียว กินอาหารด้วย กินอาหารด้วย และถ้าถามว่าจำเป็นต้องดื่มน้ำอาร์โอหรือไม่ตนเห็นว่าในแง่ของความประหยัดดื่มน้ำประปาน่าจะดีกว่า น้ำประปาหลายแห่ง การประปาประกาศแล้วว่าปลอดภัย ถ้าไม่แน่ใจนำมาต้มก่อนก็จะดีกว่าน้ำอาร์โอ เพราะน้ำอาร์โอใช้อุณหภูมิต่ำอาจมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ได้